วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วิธีเตรียมตัวรับมือกับภัยน้ำท่วม น้ำหลาก อุทกภัย และเสื้อชูชีพที่ทำได้ง่ายๆ

น้ำท่วม

เมื่อเกิดภัยน้ำท่วม น้ำหลาก อุทกภัย จะมีวิธีเตรียมตัวรับมืออย่างไร และเสื้อชูชีพที่ทำได้ง่ายๆ

ไม่นึกไม่ฝันว่า วิกฤตน้ำท่วมปีนี้ จะรุนแรงและยาวนานกว่าที่คิด น้ำมันมาจากไหนตั้งมากมายมหาศาล น้ำก็ไหลอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ไม่ลดลงซะที ไม่รู้จะนานสักเท่าไหร่ถึงจะกลับเข้าสู้สภาวะปกติ ได้ฟังข่าวว่า โจรเข้าไปขโมยของในบ้านของผู้ประสบภัย ผู้ประสบภัยแย่งของกันเองจากผู้บริจาก น่าเห็นใจ แต่ผมมานึกถึงประเทศญี่ปุ่นตอนเกิดซึนามิ ประชาชนของเขาทำไมเข้าแถวรับของกันเป็นระเบียบ ไม่มีการแย่งของกัน โจรขโมยข้าวของก็ไม่มี

พอสภาพบ้านเรือนกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ต้องใช้่จ่ายเยียวยาซ่อมแซมบ้านเรือน ถนนหนทางอีกมากมาย ปวดหัวทั้งรัฐบาล ทั้งประชาชนผู้ประสบภัย
หลายครอบครัวที่อยู่ใน กทม.กำลังดูกำลังลุ้นอยู่ว่า น้ำจะมาถึงบ้านตนไหม รัฐบาลก็ประกาศว่ากรุงเทพฯปลอดภัยแน่ ใครละจะเชื่อร้อยเปอร์เซ็น ก็เห็นๆตัวอย่างกันอยู่ นครสวรรค์กับอยุธยา ตอนแรกก็บอกว่าเอาอยู่ สุดท้ายก็ต้านแรงน้ำไม่ไหว จมกันหมดทั้งบ้านทั้งรถ ทั้งนิคมอุตสาหกรรม ดูข่าวแล้วเศร้ามากๆ

แต่ก่อนที่ีหลายครอบครัวจะเจอกับอุทกภัย เราควรจะเตรียมตัวรับมือดังนี้

สิ่งที่คุณควรทำหลังจากได้รับการเตือนภัย

จากหน่วยงานด้านเตือนภัยข่าวน้ำท่วม
1. ติดตามการประกาศเตือนภัยจากสถานีวิทยุท้องถิ่น โทรทัศน์หรือรถแจ้งข่าวน้ำท่วม
2. ถ้ามีการเตือนภัยข่าวน้ำท่วมฉับพลันและคุณอยู่ในพื้นที่หุบเขาให้ปฎิบัติดังนี้
- ปีนขึ้นที่สูงให้เร็วสุดเท่าที่จะทำได้
- อย่าพยายานำสัมภาระติดตัวไปมากเกินไป ให้คิดว่าชีวิตสำคัญที่สุด
- อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเวณน้ำหลาก
3. ดำเนินการตามแผนรับมือน้ำท่วมที่ได้วางแผนไว้แล้ว
4. ถ้ามีการเตือนภัยการเฝ้าระวังน้ำท่วมจะยังมีเวลาในการเตรียมแผนรับมือน้ำท่วม
5. ถ้ามีการเตือนภัยจากข่าวน้ำท่วมและคุณอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึงควรปฎิบัติดังนี้
- ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและแก๊ซถ้าจำป็น
- อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล่างจาน
- พื้นที่ห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้าน
- อ่านวิธีการที่ทำให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่ออยู่นอกบ้าน
- ล็อคประตูบ้านและอพยพขึ้นที่สูง
- ถ้าไม่มีที่ปลอดภัยบนที่สูง ให้ฟังข้อมูลจากวิทยุหรือโทรทัศน์เกี่ยวกับสถานที่หลบภัยของหน่วยงาน
6. หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึงแต่อาจมีน้ำท่วมในห้องใต้ดิน
- ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องใต้ดิน
- ปิดแก็ซหากคาดว่าน้ำจะท่วมเตาแก็ซ
- เคลื่อนย้ายสิ่งของมีค่าขึ้นข้างบน
- ห้ามอยู่ในห้องใต้ดิน เมื่อมีน้ำท่วมถีงบ้าน

น้ำท่วมฉับพลัน
คือ น้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากในบริเวณที่ลุ่มต่ำ ในแม่น้ำ ลำธารหรือร่องน้ำที่เกิดจากฝนที่ตกหนักมากติดต่อกันหรือจากพายุฝนที่เกิดซ้ำที่หลายครั้ง น้ำป่าอาจเกิดจากที่สิ่งปลูกสร้างโดยมนุษย์ เช่น เขื่อนหรือฝายพังทลาย
- ถ้าได้ยินการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันให้วิ่งไปบนที่สูงทันที
- ออกจารถและที่อยู่ คิดอย่างเดียวว่าต้องหนี
- อย่าพยายามขับรถหรือวิ่งย้อนกลับไปทางที่ถูกน้ำท่วม
ปลอดภัยไว้ก่อนเมื่ออยู่นอกบ้าน
- ห้ามเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล
มีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตจากจมน้ำตายในขณะที่น้ำกำลังมาความสูงของน้ำแค่ 15 ซม. ก็ทำให้เสียหลักล้มได้ ดังนั้นถ้ามีความจำเป็นต้องเดินผ่านที่น้ำไหลให้ลองนำไม้จุ่มเพื่อวัดระดับ น้ำก่อนทุกครั้ง
- ห้ามขับรถในพื้นที่ที่กำลังโดนน้ำท่วม
การขับรถในพื้นที่ที่น้ำท่วม มีความเสียงสูงมากที่จะจมน้ำ หากเห็นป้ายเตือนตามเส้นทางต่างๆ ห้ามขับรถเข้าไปเพราะอาจมีอันตรายข้างหน้า น้ำสูง 50 ซม. พัดรถยนต์จักรยสานยนต์ให้ลอยได้
- ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟ
กระแส ไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านได้ เมื่อเกิดน้ำท่วมแต่ละครั้งจะมีผู้เสียชีวิต เนื่องจากไฟดูดมากกว่าสาเหตุอื่นๆ เมื่อเห็นสายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดเสียหายกรุณาแจ้ง 191 หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

วิธีทำถุงยังชีพเป็นเสิ้อชูชีพ แบบง่ายๆ

วิธีตัดเย็บเสื้อชูชีพช่วยนํ้าท่วม

ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมได้ที่
ศูนย์ข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
Thailand Flood Monitoring System
ตรวจสอบระดับน้ำจากกล้องcctv กรมชลประทาน
ตรวจสอบระดับน้ำในกทม.โดย สำนักระบายน้ำ
แผนที่เช็คระดับน้ำท่วมถึงด้วยตัวคุณเอง ของนาซ่า
เนื้อหาที่ควรรู้ เรื่อง หลังจากขับรถลุยน้ำมาแล้ว ควรจะทำอย่างไร?
ด้วยความห่วงใย JBTจึงบอกต่อ ขอบคุณ คุณ ป๊อก
วิธีเตรียมตัวรับมือกับภัยน้ำท่วม น้ำหลาก อุทกภัย และเสื้อชูชีพที่ทำได้ง่ายๆ