วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2559

แพทย์ไทยพบวิธีตรวจหาสาเหตุการเป็นออทิสติก ด้วยวิธีโครโมโซมอะเรย์

ออทิสติก สามารถป้องกันและตรวจพบได้ด้วยวิธีโครโมโซมอะเรย์

ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของวงการแพทย์ไทย หลังจากมีการใช้เทคโนโลยีในการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยกลุ่มออทิซึ่ม พัฒนาการล่าช้า/สติปัญญาบกพร่อง และพิการซ้ำซ้อนแต่กำเนิด ด้วยวิธีการ "โครโมโซมอะเรย์" ความละเอียดสูง สามารถช่วยให้ผู้ป่วยรู้สาเหตุของโรคว่าเกิดจากพันธุกรรมของตนเอง หรือของพ่อแม่ เพื่อทำการวิเคราะห์ปัญหาและหาทางเลือกในการรักษาและการป้องกันไม่ให้เกิดกับลูกคนที่สอง หากพ่อแม่ประสงค์จะมีบุตรอีกคน

วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ดูสุดยอดวิธียืดอายุ 10 อวัยวะสำคัญของร่างกาย เพื่อสุขภาพที่ดี

ดูสุดยอดวิธียืดอายุ 10 อวัยวะสำคัญของร่างกาย

ใกล้เทศกาลปีใหม่แล้ว ทีวีก็โหมโฆษณากระเช้าขอขวัญปีใหม่ ส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้นกระเช้าของขวัญประเภทยาบำรุง อาหารเสริม แบบคนบ้านๆไม่มีเงินซื้อกินกัน เพราะราคาแพง อีกทั้งผลวิจัยไม่รู้ว่ากินไปแล้วได้ผลคุ้มกับค่าเงินที่ซื้อไปหรือเปล่า แต่ที่คุ้มแน่ๆคือวิธีทื่จะบอกต่อข้างล่างนี้
เราเคยชินกับความรู้ที่ว่า อวัยวะจะเสื่อมไปตามเวลา วิธีการยืดอายุอวัยวะมีร้อยแปดพันประการ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ดร.โรแนน แฟคโทรา แห่งสถาบันการแพทย์ Cleveland Clinic ประเทศสหรัฐอเมริกา เด็ดยอดวิธียืดอายุอวัยวะต่างๆ ไว้ในนิตยสาร Times ดังนี้

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ปลูกต้นไม้ไล่ยุงกันเถอะป้องกันไข้เลือดออก ยุงร้ายป้องกันได้

ปลูกต้นไม้ไล่ยุงกันเถอะป้องกันไข้เลือดออก

เป็นข่าวดังติดต่อกันทุกวันสำหรับโรคไข้เลือดออก ที่ทำให้ดาราดังปอ ทฤษฎี ขวัญใจของหลายๆคนต้องอยู่ในขั้นโคม่าอาการหนักแบบไม่รู้สึกตัวมาหลายวันแล้ว สังคมเริ่มตื่นตัวกับโรคไข้เลือดออก ซึ่งแต่ก่อนว่ากันว่าโรคไข้เลือดออกไม่ค่อยรุนแรง บางแหล่งความรู้ก็บอกว่าโรคนี้หายเองได้ แต่มาตอนนี้พากันกลัวกันยกใหญ่ เราจะป้องกันเจ้ายุงลายตัวร้ายนี้ยังไง มาสร้างรั้วกำแพงไล่มันดีไหม ป้องกันไว้ก่อนดีกว่าการมารักษาโรคเป็นไหนๆ มาปลูกต้นๆไม้กันยุงร้ายกันเถอะ

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ไขข้อข้องใจขวดน้ำดื่มพลาสติก ขวดPET ใช้ซ้ำอันตรายจริงไหม

ไขข้อข้องใจขวดน้ำดื่มพลาสติก ขวดPET ใช้ซ้ำอันตรายจริงไหม

ไขข้อสงสัย ขวดน้ำพลาสติกหากทิ้งไว้ในรถที่ตากแดดร้อนๆ หรือขวดน้ำพลาสติกที่เป็นขวด PET ดื่มน้ำหมดขวดแล้ว เราเอาขวดมาใส่น้ำดื่มต่อได้หรือไม่ จะได้รับสารอันตรายจากขวดพลาสติกที่เอามาใช้ซ้ำตามที่เป็นข่าวหรือเปล่า ข้อควรระวังที่แท้จริงอาจไม่ใช่อย่างที่คุณคิด พบคำตอบจาก รศ.ดร.พลังพล คงเสรี ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล