อาหารไทยต้องห้ามสำหรับใครหลายคน เพื่อสุขภาพต้องตัดใจ
4 อันดับแกงไขมันย่อง ใครรักสวยห่วงสุขภาพ ต้องตัดใจไม่แตะ!อาหารไทยต้มยำทำแกงบางเมนูแม้รสแซ่บเปรี้ยวหวานมันกลมกล่อมถูกลิ้นเราๆ ทว่าต้องคำนึงถึงผลเสียต่อสุขภาพด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแกงกะทิทั้งหลาย
นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ซึ่งเชี่ยวชาญโภชนาการเป็นอย่างยิ่ง สแกนหาซุปแกงที่ประโยชน์น้อยสุด อุดมแต่ไขมัน ใครรักสวยห่วงสุขภาพ ควรตัดใจไม่กิน
อาหารไทยต้องห้ามสำหรับใครหลายคน เพื่อสุขภาพต้องตัดใจ
อันดับ1 -> ต้มยำขาหมูต้มยำเป็นอาหารไทยภาคกลางประเภทแกง ซึ่งเป็นที่นิยมรับประทานไปทุกภาคในประเทศไทย เป็นอาหารที่รับประทานกับข้าว และมีรสเปรี้ยกับเผ็ดเป็นหลัก ผสมเค็มและหวานเล็กน้อย มีทั้งต้มยำไก่ ขาไก่ ปลา ฯลฯ สารพัดชนิดเนื้อสัตว์ทำต้มยำอร่อยเหาะ แต่ต้มยำประเภทที่หมอกฤษดาไม่แนะนำคือ ต้มยำขาหมู
“ในหมูมีคอลลาเจน (collagen) ก็จริง แต่ข้อเสียไขมันอิ่มตัวเยอะมากเลย และในตัวขาหมูมีของที่ย่อยไม่ได้ อย่าง พวกขน (ขนที่ติดที่หนัง) เป็นเคราติน (keratin) รวมทั้งพวกคากิที่มีเล็บ ร่างกายเราไม่มีตัวที่ย่อยเคราติน
ข้อร้ายของขาหมูต้มยำเยอะมาก เพราะมีไขมันเยอะ แต่มีทางออก ให้เลือกขาที่มันน้อยหน่อย ขาไหนรู้ไหม ขาหน้าครับ เพราะมันใช้ขาหน้าในการตะกรุยดินหาอาหาร ขาหน้าจึงมีกล้ามเนื้อเยอะกว่า ขาหลังจะเป็นไขมันเยอะ ไขมันเป็นก้อนๆ เลย และถ้าเลือกได้ เลือกหมูป่าดีกว่าหมูบ้าน เพราะไขมันน้อยกว่า”
อันดับ2 -> แกงมัสมั่น
ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารมลายู ชาวไทยมุสลิมเรียกแกงชนิดนี้ว่า ซาละหมั่น แกงมัสมั่นแบบไทยออกรสหวานในขณะที่ตำรับดั้งเดิมของชาวมุสลิมออกรสเค็ม แต่คนไทยเราเกลียดพวกนมเนย ก็เลยมาใช้นมพืชคือ กะทิแทน
เมื่อเร็วๆ นี้ เว็บไซต์ซีเอ็นเอ็นโกได้โหวตให้ แกงมัสมั่นไทยคว้าอันดับ 1 ของ 50 สุดยอดอาหารอร่อยที่สุดในโลกโดยนับผลจากการโหวตผ่านเฟซบุ๊กโพลของซีเอ็นเอ็นโก โดยยกให้แกงมัสมั่นไทยเป็นราชาแห่งอาหาร เพราะมีทั้งความเผ็ดร้อนของเครื่องเทศ หอมมันจากกะทิ หวานและอร่อย เป็นรสชาติกลมกล่อมที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่หมอกฤษดาไม่เชียร์เมนูนี้ในมุมเพื่อสุขภาพ
“หนึ่ง-มีไขมันอิ่มตัวสูง สอง-มีกะทิด้วย ในกะทิมีน้ำมันดีก็จริง แต่มันมีไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ที่จะไปเกาะที่ตับ ทำให้เกิดมันพอกตับ ทำให้เกิดโรคตับแข็งได้โดยไม่ต้องดื่มเหล้า”
นอกจากนั้น หากมีไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว ถ้าเกิดที่หัวใจทำให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ถ้าเกิดที่สมองทำให้เป็นอัมพาต หรือทำให้เกิดอาการร่วมคือ ปวดท้อง ตับโต ม้ามโต และทำให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ ปวดข้อ
“คนที่มีปัญหากรดไหลย้อน มัสมั่นจะยิ่งทำให้กรดไหลย้อนมากขึ้น กรดกระเฉาะนานขึ้น”
อันดับ3 -> พะแนง
เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย แกงพะแนงยุคแรกทำมาจากไก่ส่วนสะโพกที่มีขาติด ไก่พะแนงจึงเป็นการนำไก่ทั้งตัวมาขัดขากัน และทำในหม้อใบใหญ่ ใช้เครื่องแกงแขกแบบแกงมุสลิม และคั่วไปจนน้ำขลุกขลิก เหมือนอาหารอินเดียมุสลิมอื่นๆ ใช้เครื่องเทศเฉพาะ ต่อมาพี่ไทยเราก็ดัดแปลงใช้เครื่องเทศแบบไทยๆ โดยมีส่วนผสมหลักของเครื่องแกงคือ พริก ข่า ตะไคร้ รากผักชี เม็ดผักชี เม็ดยี่หร่า กะเทียม และเกลือ จัดเข้าพวกแกงกะทิ ของโปรดของใครหลายๆ คน ยิ่งกินกับข้าวสวยร้อนๆ นะ เอาหูปลาฉลามมาแลกก็ไม่ยอม
ทว่าหมอกฤษดากลับเป็นห่วง เนื่องจาก…“แกงพะแนงมีกะทิเยอะ ถึงแม้ว่ามีพริกแดงซึ่งมีวิตามินเอเยอะ แต่ข้อเสียคือ พวกนี้แกงให้มันย่อง ใช้หนังไก่ใช้สะโพก ซึ่งสะโพกจะติดมันเยอะมีไขมันจากไก่เยอะ มีทั้งหนัง และทำให้เกิดเรื่องของการย่อยยาก ยิ่งอยู่ในท้องนานยิ่งย่อยยาก สังเกต มื้อไหนกินอาหารมันๆ ถึงอีกมื้อถัดไปยังอิ่มอยู่เลย ลมหายใจยังมีกลิ่นอยู่เลย ไขมันจะย่อยยาก นี่คือ ข้อเสีย ทำให้ท้องอืดย่อยยาก ผู้สูงวัยอาจมีอาการเบื่ออาหารได้”
อันดับ4 -> แกงเขียวหวาน
เป็นอาหารไทยประเภทแกง ประกอบด้วยเนื้อ ปลา ไก่ หรือหมู และผัก ปรุงรสด้วยกะทิ มะเขือ น้ำตาล น้ำปลา ใบมะกรูด และใบโหระพา นิยมรับประทานกับข้าวสวยหรือขนมจีน น้ำพริกแกงมีสีเขียวเพราะใช้พริกขี้หนูสดสีเขียว บางท้องที่ใส่ใบพริกลงไปตำด้วย
“ข้อดีคือ พริกเขียวพริกชี้ฟ้า สีเขียวของมันคือ แคโรทีนอยด์ (carotenoids) หรือวิตามินเอ ซึ่งละลายในไขมัน และถ้าได้กะทิ ก็จะดูดซึมได้ดีขึ้น” แต่ข้อเสียที่หมอกฤษดากังวลมากกว่าคือ
“กะทิเยอะมาก และถ้าเรากินแกงเขียวหวานหมูที่เป็นหมูสามชั้น มันก็จะหมดกันเลย พวกนี้จะลบพวกแอนตี้ออกซิแดนท์ (antioxidant) ที่เป็นวิตามินเอไปหมดเลย เพราะอย่าลืมว่ามันต้องเคี่ยวนาน ต้องเคี่ยวหมูสามชั้นนาน มันทำให้วิตามินเอแม้ละลายในไขมันดีแต่มันก็ระเหยไปได้เหมือนกัน”
อ่ะ ! และถ้าเป็นแกงเขียวหวานไก่ หรือแกงเขียวหวานปลากรายล่ะ
“ไก่หรือตีนไก่ได้คอลลาเจนก็จริง แต่มันไม่เปรี้ยว ในนั้นไม่มีวิตามินซี มันก็กลายเป็นแกงไขมันแทน เนื้อปลากรายก็ยังดีกว่า เพราะปลากรายแม้เป็นปลาน้ำจืดแต่ก็มีโอเมก้า3 ยังช่วยได้เหมือนกัน”
ข้างบนคือ 4 แกงที่คุณหมอกฤษกาของเราไม่ปลื้มเท่าไรนัก
ท่านผู้อ่านรับทราบข้อเสียอย่างนี้แล้ว ก็เพลาๆ แกงกะทิ หันไปกินแกงไม่ใส่กะทิดีกว่านะ เครื่องเทศสมุนไพรเพียบ แถมไม่อ้วนด้วย
ด้วยความห่วงใย JBTจึงบอกต่อ ขอบคุณคุณภรณี ข้อมูลจาก ผู้จัดการออนไลน์
มื้อเช้า เมนูไหนดี เมนูไหนควรเลี่ยง
อาหารไทยต้องห้ามสำหรับใครหลายคน เพื่อสุขภาพต้องตัดใจ
0 comments:
แสดงความคิดเห็น