วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

เลือกกินอาหารมื้อเย็นแบบไหนไม่ให้เป็นโรค | อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีเรากำหนดได้

เลือกกินอาหารมื้อเย็นแบบไหนไม่ให้เป็นโรค | อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีเรากำหนดได้
หลายคนมักจะเข้าใจผิดในเรื่องการรับประทานอาหารมื้อเย็น (ดูอีกมุมมองหนึ่ง) นานมาแล้วที่คนมักจะเข้าใจว่า อาหารมื้อเย็นเป็นอาหารมื้อที่สำคัญ จึงพากันกิน พากันรับประทานกันแบบอิ่ม พุงกาง กินกันแบบเผื่อหิวตอนกลางคืน กินแบบจะได้ไม่หิวตอนกลางคืน แต่ก็อย่าคิดว่าอาหารมื้อเย็นไม่สำคัญ งานวิจัยค้นพบว่า โรคหลายโรคมีมูลเหตุมาจากนิสัยการกินอาหารมื้อเย็นที่ไม่ถูกสุขลักษณะ จงระวังกินมื้อเย็นผิดโรคจะมาเยือน เรามาเลือกอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีกันดีกว่า

มื้อเย็นกับโรคอ้วน
90%ของคนอ้วนเกิดจากมื้อเย็นกินจุกินดีเกินไป อย่าลืมว่ากลางคืนเคลื่อนไหวน้อย พลังงานสิ้นเปลืองน้อย ความร้อนส่วนเกินจะสังเคราะห์กับอินซูลินกลายเป็นไขมันจนเป็นโรคอ้วน

มื้อเย็นกับโรคเบาหวาน
มื้อเย็นกินจุเป็นเนืองนิตย์แกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารอินซูลินในปริมาณมากจนทำให้เกิดโรคเบาหวาน

มื้อเย็นกับมะเร็งในลำไส
เมื่อมื้อเย็นกินจุ โปรตีนไม่อาจสลายได้หมด ทำปฏิกิริยากับแบกทีเรียกลายเป็นสารพิษตกค้างในลำไส้นานเกินควร อันเนื่องมาจากการบีบตัวของลำไส้เฉื่อยชาในภาวะนอนหลับ เพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งในลำไส้

มื้อเย็นกับไขมันในเลือด
มื้อเย็นหากกินอาหารประเภทไขมันสูง โปรตีนสูงและพลังงานความร้อนสูง ตับจะผลิตโปรตีนไขมันความหนาแน่นตํ่า ทำให้ไตรกลีเซอไรด์เพิ่มสูงจนกลายเป็นโรคไขมันในเลือดสูง

มื้อเย็นกับความดันโลหิตสูง
หากมื้อเย็นหนักไปทางอาหารคาว ไขมันเลือดจะเกาะติดผนังเส้นเลือดเนื่องจากเลือดไหลเวียนช้าลงขณะนอนหลับ ทำให้เส้นเลือดตีบตันและแข็ง ตัวเกิดเป็นโรคความดันโลหิตสูง

มื้อเย็นกับโรคหัวใจและเส้นเลือดแดงแข็งตัว
ไขมันและแคโลรีสูงในอาหารมื้อเย็นจะทำให้โคเลสเตอรอลสูงและสะสมในผนังเส้นเลือด เป็นมูลเหตุสำคัญของโรคหัวใจและเส้นเลือดแดงแข็งตัว นอกจากนั้นแคลเซียมสะสมในเส้นเลือดก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เส้นเลือดแดงแข็งตัวเช่นกัน ฉะนั้นมื้อเย็นไม่ควรกินดี กินจุ กินดึก

มื้อเย็นกับไขมันในตับ
มื้อเย็นกินจุกินดีเกินไปทำให้นํ้าตาลในเลือดและกรดไขมันมีความเข้มข้นสูงและสังเคราะห์เป็นไขมันโดยเร็ว ทำให้ตับเป็นไขมัน

มื้อเย็นกับตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน
มื้อเย็นกินจุกินดีเกินไป ทั้งดื่มเหล้าด้วย จะล่อแหลมต่อการเป็นตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน อาจช๊อคถึงตายขณะนอนหลับ

มื้อเย็นกับโรคสมองเสื่อม
มื้อเย็นกินจุเป็นเนืองนิตย์ สมองไม่ได้พักผ่อนขณะนอนหลับ เนื่องจากอวัยวะต่างๆ เช่น กระเพาะ ลำไส ตับ ดี ตับอ่อนยังทำงานอยู่ เลือดเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ กระทบกระเทือนระบบเมตาบอลิซึมในเซลล์สมอง ทำให้สมองเสื่อม เมื่ออายุแก่ตัว มีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์หนึ่งในห้า

มื้อเย็นกับคุณภาพการนอน
มื้อเย็นกินจุกินดีเกินไป อวัยวะต่างๆ เช่น กระเพาะ ลำไส ตับ ดีตับอ่อน จะทำงานต่อเนื่องขณะนอนหลับและส่งสัญญาณให้สมอง ทำให้สมองอยู่ในภาวะตื่น เต้น นอนไม่หลับหรือฝันบ่อย นานวันเข้าจะกลายเป็นโรคประสาท

มื้อเย็นกินอย่างไรจึงจะเหมาะสม
เมื่อพิจารณาจากสาเหตุข้างต้นแล้ว น่าจะเข้าใจดีว่า นิสัยการกินมื้อเย็นของคุณถูกสุขลักษณะหรือไม่ เสี่ยงต่อการเป็นโรคหรือไม่ นักโภชนาการเสนอแนะแนวทางกินมื้อเย็น 5 ประการดังนี้
1. มื้อเย็นกินน้อย กำหนดปริมาณพอเหมาะ
2. มื้อเย็นควรกินระหว่างเวลา 18.00-19.00 น.
3. ควรเน้นอาหารเจ ลดเนื้อสัตว์
4. ลดอาหารเลี่ยนมัน ไขมันสูง แคโลรีสูง แคลเซียมสูงและอาหารป่องพอง
5. เด็กที่กำลังเติบโตอาจเพิ่มปริมาณตามความเหมาะสม

โคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูงเกินเป็นเพราะกินอาหารผิดวิธี หากเน้นอาหารประเภทข้าวโอ๊ต หัวหอมใหญ่ แอปเปิล ปลาแซลมอน เป็นประจำ จะทำให้โคเลสเตอรอลลดลงได้ จากการวิเคราะห์ของศูนย์รับบริจาคโลหิตค้นพบว่าชาวไต้หวันมีเลือดที่มันเกินไป โคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูงเกินเป็นปัญหาทั่ว

ผศ.นพ.ลือว่านอัน แห่งสถาบันวิจัยเวชศาสตร์ทางเลือก มหาวิทยาลัยหยังหมิง ไต้หวัน กล่าวว่า การลดโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์โดยใช้วิธีโภชนาการบำบัด ก็จะได้ผลดีและปลอดภัย เขาแนะนำให้ปรับนิสัยการกินอาหารที่ไม่ถูกต้อง โดยเน้นการบริโภคอาหาร 9ประเภทดังที่จะกล่าวต่อไป ซึ่งจะเห็นผลในระยะสั้นสำหรับการลดโคเลสเตอรอล
1. มื้อเช้าโจ๊กข้าวโอ๊ต 1 ชาม กินติดต่อกันเพียง 8สัปดาห์ก็สามารถลดความเข้มข้นของโคเลสเตอรอลเลวในโลหิต 10% และเพิ่มโคเลสเตอรอลดีให้สูงขึ้น
ข้าวโอ๊ตมีเส้นใยอาหารทั้งที่ละลายได้และไม่ละลาย สามารถลดการดูดซึมโคเลสเตอรอลและไขมันภายในกระเพาะและลำไส้
2. มื้อกลางวันถั่วครึ่งชาม ถั่วเป็นอาหารราคาถูก กินติดต่อกันเพียง 8สัปดาห์ก็สามารถลดความเข้มข้นของโคเลสเตอรอลเลวในโลหิต 20% ถั่วมีเส้นใยอาหารทั้งที่ละลายได้และไม่ละลาย เป็นส่วนประกอบสำคัญในการลดการดูดซึมโคเลสเตอรอล
3. มื้อเย็น กระเทียม 3 กลีบ กินติดต่อกันเพียง 8สัปดาห์ก็สามารถลดความเข้มข้นของโคเลสเตอรอลเลวในโลหิต 10% กินได้ทั้งสดดิบหรือปรุงสุก ล้วนได้ผลดีมาก กระเทียมมีสารประกอบกำมะถัน สามารถยับยั้งกระบวนการสังเคราะห์โคเลสเตอรอล
4. หัวหอมใหญ่วันละครึ่งหัว หัวหอมใหญ่เป็นอาหารสุขภาพราคาถูก กินติดต่อกันเพียง 8สัปดาห์ก็สามารถเพิ่มความเข้มข้นของโคเลสเตอรอลดีในโลหิต 20% และลดโคเลสเตอรอลเลวและไตรกลีเซอไรด์ หัวหอมใหญ่ควรบริโภคสดดิบ
5. ปรุงอาหารด้วยนํ้ามันมะกอก นํ้ามันมะกอกสามารถลดโคเลสเตอรอลเลวและเพิ่มโคเลสเตอรอลดีให้สูงขึ้น ปกป้องการไหลเวียนของโลหิตในหัวใจ ควรเลือกใช้นํ้ามันมะกอกที่สกัดในอุณหภูมิตํ่า ถ้าสกัดด้วยความร้อนสูงจะทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง
6. อโวคาโด้หรือแอปเปิลวันละผล ไขมันในอโวคาโด้เป็นกรดไขมันชนิดเชิงเดี่ยวไม่อิ่มตัว มีประโยชน์ต่อร่างกายมาก ส่วนยางในแอปเปิลมีสรรพคุณลดโคเลสเตอรอล
7. ปลาแซลมอนนึ่งสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ปลาแซลมอนมี 0mega3 ในปริมาณสูง หากปรุงด้วยวิธีย่างหรือทอดจะเสียคุณภาพ ฉะนั้นปรุงด้วยวิธีนึ่งจะดีที่สุดบริโภคสัปดาห์ละ 2 ครั้งติดต่อกันเพียง 8สัปดาห์ก็สามารถเพิ่มโคเลสเตอรอลดีให้สูงขึ้น 10% และลดไตรกลีเซอไรด์ลงด้วย
8. นํ้าขิงร้อนๆ สัปดาห์ละถ้วย ขิงตากแห้งบดเป็นผงชงนํ้าร้อนดื่มสัปดาห์ละถ้วยมีสรรพคุณลดโคเลสเตอรอลเลวและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
9. ใช้ส่าเหล้าแดงปรุงรสอาหาร ส่าเหล้าแดงนอกจากใช้หมักเหล้าแล้วยังใช้ปรุงรสอาหารได้ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าสาร Monacolinในส่าเหล้าแดงสามารถยับยั้งกระบวนการสังเคราะห์ของโคเลสเตอรอล

ด้วยความห่วงใย JBTจึงบอกต่อ
ขอบคุณ คุณสมชาย
เลือกกินอาหารมื้อเย็นแบบไหนไม่ให้เป็นโรค | อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีเรากำหนดได้

1 comments:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขออนุญาต แชร์เพื่อนเป็นความรู้นะค่ะ

ขอบคุณค่ะ
Krabi liver detox