อัลไซเมอร์ไม่หายขาด แนะคนในครอบครัวต้องเข้าใจ ไม่ทิ้งผู้ป่วย
ผู้สูงอายุหลายคนเมื่อถึงช่วงอายุหนึ่งอาจเริ่มมีอาการหลงๆลืมๆ บางทีถามลูกหลานซ้ำๆในเรื่องเดิมคำถามเดิม ทำให้ลูกหลานบางคนแสดงความรำคาญออกมาว่าถามเรื่องเดิมอีกละ ถามเรื่องเก่าอยู่ได้ แต่ลูกๆหลานๆเหล่านั้นไม่รู้หลอกว่า ตอนที่ตนเป็นเด็กก็มีพฤิติกรรมแบบนี้เหมือนกัน คือถามผู้ใหญ่ถามย้ำถามแล้วถามอีกในเรื่องเดิมๆนั้นแหละ แต่ผู้ใหญ่เขาไม่เห็นจะโกรธเลย ลองนึกดูซิว่าเป็นแบบนั้นหรือเปล่า?อัลไซเมอร์ไม่หายขาด แนะคนในครอบครัวต้องเข้าใจ ไม่ทิ้งผู้ป่วย
ปัญหาโรคอัลไซเมอร์พบมากขึ้นทุกวัน เนื่องจากสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันผู้สูงอายุที่เป็น โรคอัลไซเมอร์จำนวนมากถูกทอดทิ้งศ.พญ.นันทิกา ทวิชาชาติ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการเลขานุการ มูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย บอกว่าโรคอัลไซเมอร์เป็น กลุ่มอาการซึ่งเกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมอง จะมีการสูญเสียหน้าที่ของสมองหลายด้านพร้อมๆ กันแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เกิดขึ้นอย่างถาวร ส่งผลให้มีการเสื่อมของระบบความจำและการใช้ความคิดด้านต่างๆ ผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือการควบคุมตนเอง ในระยะสุดท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด และจะค่อยๆแย่ลงจนถึงอาการสุดท้ายคือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และเสียชีวิตเพราะอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัดแต่เชื่อว่าสาเหตุส่วนหนึ่งอาจเกิดจากปัจจัยด้านพันธุกรรม รวมถึงปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้องด้วย เช่น อาหาร สิ่งแวดล้อม สารพิษ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการติดเชื้อบางชนิด เป็นต้น ประมาณการว่าน่าจะมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในประเทศไทยประมาณ 665,287 คน ขณะนี้ยังไม่สามารถรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาดได้ โดยยาต่างๆ ที่ใช้รักษาโรคนี้ ช่วยเพียงแค่ควบคุมอาการของโรคผู้ป่วยโรคนี้จึงต้องมีผู้ดูแลพาไปพบแพทย์ตามนัด
แนวทางการดูแลผู้ป่วยมีดังนี้ 1.ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจและยอมรับกับภาวะสมองเสื่อมของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ 2.ช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวัน 3.ดูแลการใช้ยาและพาไปพบแพทย์ 4.ระวังอุบัติเหตุ 5.การดูแลด้านจิตใจและอื่นๆ หากป่วยระยะเริ่มต้นควรหากิจกรรมฝึกความจำเพื่อช่วยชะลออาการของภาวะสมองเสื่อมได้ 6.ตัวผู้ดูแลเองก็ควรจะดูแลร่างกายและจิตใจของตนเองด้วย
มูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทยจึงได้จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ให้แก่ญาติผู้ป่วย หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เป็นประจำทุกปีในช่วงประมาณเดือน พ.ย. โดยเชิญทีมวิทยากรที่หลากหลายจากหลายหน่วยงานมาให้ความรู้ พร้อมกิจกรรมต่างๆ มากมาย หากผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารการรับสมัครได้ที่ www.alz.or.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร.0-2644-5499 ต่อ 138
ข้อมูลจาก.. http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1384829155
ด้วยความห่วงใย JBTจึงบอกต่อ
อัลไซเมอร์ไม่หายขาด แนะคนในครอบครัวต้องเข้าใจ ไม่ทิ้งผู้ป่วย
0 comments:
แสดงความคิดเห็น