วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552

วิธีดูและสังเกตุ "เช็คช่วยชาติ" ของจริง - "เช็คช่วยชาติ"ของจริงตัวจริงรู้แล้วจึงบอกต่อ


วิธีดูและสังเกตุ "เช็คช่วยชาติ" ของจริง - "เช็คช่วยชาติ"ของจริงตัวจริงรู้แล้วจึงบอกต่อ

พรุ่งนี้แล้ว( ๒๖ มี.ค )หลายคนก็คงจะดีใจที่จะได้รับเงินฟรีๆจากรัฐบาลในนาม"เช็คช่วยชาติ" หลายคนก็ผิดหวังที่เงินนี้แจกจ่ายไปไม่ถึงคนที่จนและเดือดร้อนจริงๆ หลายคนเกิดความกังกลใจว่าเราจะมีวิธีสังเกตุและดู"เช็คช่วยชาติ"นี้อย่างไรจึงจะได้ไม่ถูกมิจฉาชีพเอาของปลอมมาหลอกโดยเฉพาะร้านค้าที่จะรับ"เช็คช่วยชาติ"นี้
ผมจึงไปหาข้อมูลนี้จากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)ซึ่งเป็นผู้ออก"เช็คช่วยชาติ"นี้มาฝากครับ

ธนาคารกรุงเทพ เผยโฉม "เช็คช่วยชาติ" เน้นความปลอดภัย พร้อมให้คำแนะนำในการตรวจสอบ

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดรูปแบบ "เช็คช่วยชาติ" ที่ได้รับมอบหมายให้จัดพิมพ์ตามรายชื่อที่ได้รับจากทางการ เพื่อส่งมอบให้กับกรมบัญชีกลาง และสำนักงานประกันสังคม นำไปแจกจ่ายให้แก่บุคลากรภาครัฐและประชาชนผู้มีสิทธิโดยตรง โดยธนาคารได้ออกแบบ "เช็คช่วยชาติ" ขึ้นเป็นการเฉพาะ ภายใต้ข้อกำหนดที่ให้ไว้ และจัดพิมพ์ด้วยระบบพิเศษ ที่เน้นการให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย เพื่อป้องกันการปลอมแปลงที่อาจเกิดขึ้น
ทั้งนี้เช็คช่วยชาติสามารถเปลี่ยนมือได้และมีค่าเสมือนเงินสด จึงไม่สามารถอายัดได้ ดังนั้น ผู้ได้รับเช็คจึงต้องเก็บรักษาเป็นอย่างดี โดยผู้ได้รับเช็คช่วยชาติสามารถตรวจสอบด้วยวิธีสังเกตใน 4 จุดหลัก ได้แก่

จุดที่หนึ่ง ตัวอักษร "เช็คช่วยชาติ ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก" พิมพ์เป็นลายเส้นนูน สีน้ำเงิน ดำ และแดง เหลือบกัน เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือจะรู้สึกสะดุดกับหมึกพิมพ์ที่อยู่บนผิวกระดาษ
จุดที่สอง สัญลักษณ์ "฿" ช่องจำนวนเงิน พิมพ์เป็นตัวนูน สีทองและแดงเหลือบกัน
จุดที่สาม เมื่อนำเช็คไปส่องกับแบล็คไลท์ จะปรากฏตราสัญลักษณ์รูปดอกบัวของธนาคารกรุงเทพตรงกลางเช็ค
จุดที่สี่ ขอบเช็คต้องมีรอยปรุ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านบนและด้านล่าง



สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ศูนย์ธนาคารทางโทรศัพท์ ‘โครงการเช็คช่วยชาติ’ โทร.0 2645 5888 ทุกวัน ระหว่างเวลา 8.00 น. – 20.00 น.

เช็คช่วยชาติสามารถเปลี่ยนมือได้ และมีค่าเสมือนเงินสด จึงไม่สามารถอายัดได้ ดังนั้น ผู้ได้รับเช็คจึงต้องดูแลเก็บรักษาเป็นอย่างดี

คำแนะนำสำหรับผู้มีสิทธิได้รับเงินตามเช็คช่วยชาติ
ผู้ มีสิทธิรับเงินที่ระบุตามหน้าเช็คช่วยชาติ สามารถติดต่อขอเบิกเงินสดหรือเข้าบัญชีได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยให้ถือปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

* ผู้มีสิทธิรับเงินจะต้องนำเช็คช่วยชาติ มาเบิกเงินสดหรือเข้าบัญชีกับธนาคารภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ระบุบนหน้าเช็ค
* หาก พ้นกำหนด 6 เดือน เช็คช่วยชาติจะไม่สามารถนำมาขึ้นเงินหรือเข้าบัญชีกับธนาคารได้ ต้องติดต่อกับส่วนราชการ/สำนักงานประกันสังคมผู้จ่ายเช็คช่วยชาติด้วยตนเอง
* ในการเบิกเงินสด หรือนำเช็คฝากเข้าบัญชี ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขาทั่วประเทศ ไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ
* กรณี เช็คช่วยชาติชำรุด หรือชื่อ-นามสกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนไม่ถูกต้อง ไม่สามารถขึ้นเงินสดได้ ผู้มีสิทธิรับเงินต้องไปติดต่อส่วนราชการหรือสำนักงานประกันสังคมผู้จ่าย เช็คช่วยชาติเท่านั้น
* กรณี เช็คช่วยชาติสูญหาย ธนาคารจะไม่รับอายัดเช็ค ผู้มีสิทธิรับเงินต้องนำใบแจ้งความไปติดต่อส่วนราชการหรือสำนักงานประกัน สังคมผู้จ่ายเช็คช่วยชาติ

ขั้นตอนในการนำเช็คช่วยชาติมาเบิกเงินสด
1. ผู้ มีสิทธิรับเงินที่ระบุตามหน้าเช็ค สามารถนำเช็คช่วยชาติ มาขอเบิกเงินสดได้ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขาโดยมีเอกสารประกอบในการเบิกเงินสด คือ บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการตัวจริงที่มีเลขประจำตัว ประชาชน 13 หลัก และให้เขียนชื่อนามสกุลพร้อมระบุเลขประจำตัวประชาชนที่ด้านหลัง เช็คช่วยชาติ
2. ผู้มีสิทธิรับเงินสามารถนำเช็คของตนเอง และเช็คของบุคคลอื่น มาเบิกเงินสด ได้อีก 1 ฉบับ โดยต้องปฏิบัติ ดังนี้
* สำหรับเช็คช่วยชาติของตนเอง ให้เขียนชื่อ-นามสกุล ที่ด้านหลังเช็คช่วยชาติ พร้อมระบุเลขประจำตัวประชาชน
* สำหรับ เช็คช่วยชาติของบุคคลอื่นที่ฝากมาขึ้นเงิน ให้เขียนชื่อ-นามสกุลของบุคคลที่ฝากมาขึ้นเงิน พร้อมระบุหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ ที่ด้านหลังเช็คช่วยชาติ
พร้อมทั้งแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ฝากและผู้รับฝากที่มีการลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง

การนำฝากเช็คช่วยชาติเข้าบัญชี
ธนาคาร จะนำเงินเข้าบัญชี ให้ใน 5 วันทำการนับถัดจากวันที่รับฝากเช็ค (ยกเว้นวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดทำการของธนาคาร) โดยลูกค้าสามารถเบิกถอนเงินได้ตั้งแต่ 14.00 น. เป็นต้นไป

การนำฝากเช็คช่วยชาติเข้าบัญชี สามารถนำฝาก ได้ที่
* ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา
* นำฝากผ่านตู้รับฝากเงินด่วน (Express Deposit Box: ตู้ EDB) ของ ธนาคารกรุงเทพ
* ฝากเข้าบัญชีได้ทุกธนาคารทั่วประเทศ

การจัดทำใบนำฝากเช็คช่วยชาติ

1. เขียนเลขที่บัญชี ชื่อบัญชีที่ต้องการนำฝาก และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ด้านหลังเช็คช่วยชาติ
2. เขียนใบฝากเงิน พร้อมสำเนา 2 ฉบับ (รวม 3 ฉบับ) โดยระบุรายละเอียดบนใบฝากเงิน ให้ครบถ้วนถูกต้อง
3. กรณีนำฝากเช็คช่วยชาติมากกว่า 10 ฉบับ ให้จัดทำรายละเอียดการนำฝาก ตามแบบฟอร์มที่ธนาคารกำหนด พร้อมสำเนา 2 ฉบับ (รวม 3 ฉบับ) และเขียนใบฝากเงิน ด้วยยอดรวมจำนวนเงิน และจำนวนฉบับ
4. ธนาคารจะรับฝากเช็คช่วยชาติ และส่งมอบสำเนาใบฝากเงินให้ผู้นำฝาก 1 ฉบับ ไว้เป็นหลักฐาน

หมายเหตุ หาก พ้นกำหนด 5 วันทำการนับถัดจากวันที่รับฝาก (ยกเว้นวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดทำการของธนาคาร) ยังไม่มีการนำเงินเข้าบัญชี ให้ผู้นำฝากติดต่อที่สาขา/ธนาคารผู้รับฝากเช็คช่วยชาติ

คำแนะนำสำหรับร้านค้าที่รับเช็ค - การรับเช็คช่วยชาติของร้านค้า/บริษัท เพื่อนำฝากเช็คช่วยชาติเข้าบัญชีบริษัท(คลิกดูรายละเอียด)

ข้อมูลจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
และ www.เช็คช่วยชาติ.com

วิธีดูและสังเกตุ "เช็คช่วยชาติ" ของจริง - "เช็คช่วยชาติ"ของจริงตัวจริงรู้แล้วจึงบอกต่อ