วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552
เจ็บป่วยฉุเฉินโทรไปศูนย์เอราวัณ1646 (ตจว.1669)ช่วยคุณได้ บริการดีและฟรีจากผู้ใหญ่ใจดี
เจ็บป่วยฉุเฉินโทรไปศูนย์เอราวัณ1646 (ตจว.1669)ช่วยคุณได้ บริการดีและฟรีจากผู้ใหญ่ใจดี
ข่าวการแย่งกันช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางถนนจากหลายหน่วยงานที่ทำงานซ้ำซ้อนกัน ทำให้เราได้รู้ถึงเบื้องลึกๆว่าผลประโยชน์คือต้นเหตุของการแก่งแย่ง จะได้ค่าหัวของผู้ป่วยเมื่อนำไปส่งยังโรงพยาบาลเอกชนที่ได้ตกลงผลประโยชน์กันไว้ การขาดความรู้ในการช่วยเหลือในการลำเลียงผู้ป่วยอาจเป็นการซ้ำเติมมากกว่าการช่วยเหลือเสียอีก
ผมได้ทราบจากเพื่อนว่า เดี๋ยวนี้ที่กรุงเทพฯ มีหน่วยงานที่คอยช่วยเหลือทางการแพทย์แบบฉุเฉินที่มีคุณภาพและปฏิบัติแบบถูกต้องตามหลักวิชาการ ต้องโทรไปที่ 1646
เจ็บป่วยฉุกเฉิน กด 1646
กดโทรศัพท์ไปที่ศูนย์เอราวัณ 1646 เบอร์นี้สำหรับชาว กทม. ทุกคน
ใครที่เป็นชาว กทม. เมื่อก่อนอาจคุ้นเคยกับการเรียก 191 หรือหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินของมูลนิธิหรือหน่วยงานการกุศลต่างๆ แต่วันนี้อยากให้รู้ว่ากรุงเทพมหานครได้จัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินใหม่แล้ว โดยระบบใหม่ใช้ “ศูนย์เอราวัณ” หรือ Bangkok Emergency Medical Service (Bangkok EMS) เป็นศูนย์กลาง เมื่อผู้ประสบภัยแจ้งเหตุเข้ามาที่ 1646 ศูนย์ฯ จะสั่งการผ่านเครือข่ายในทันทีอย่างรวดเร็ว
นพ.พีระพงษ์ สายเชื้อ ผู้อำนวยการศูนย์เอราวัณกล่าวว่า ระบบใหม่แบ่งพื้นที่ กทม. ออกเป็น 9 โซน แต่ละโซนมีโรงพยาบาลแม่ข่ายรับผิดชอบ ส่วนเครือข่ายสถานพยาบาลประกอบด้วยโรงพยาบาลรัฐ เอกชน รวม 44 แห่ง และมูลนิธิต่างๆ อีก 8 แห่ง รวมเป็น 52 แห่ง โดยในทันทีที่ศูนย์ฯ รับแจ้งเหตุ เจ้าหน้าที่คัดแยกระดับความรุนแรงของผู้ป่วย จากนั้นไม่เกิน 10 นาที รถพยาบาลเครือข่ายจะเร่งรุดเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมกับหน่วยแพทย์คุณภาพ
วัตถุประสงค์สำคัญของการรวมศูนย์ใหม่คือ การยกมาตรฐานหน่วยแพทย์กู้ชีพ จากเดิมที่ต้องยอมรับว่ามีบุคคลจำนวนมากที่เข้ามาดำเนินการช่วยเหลือคนเจ็บฉุกเฉินอย่างขาดความรู้และทักษะที่เพียงพอ หรือบางหน่วยเข้ามาโดยขาดเจตคติที่ดี ทำให้เกิดการแย่งชิงผู้ป่วย รถและอุปกรณ์การแพทย์ไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยมากกว่าที่จะช่วยเหลือให้รอดพ้นจากความทุกข์ทรมาน
“ไปถึงเร็วแต่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์ เป็นจุดบอดของระบบกู้ชีพแบบเดิมที่ต้องแก้ไข คุณรู้หรือไม่ว่าแค่คุณถอดหมวกกันน็อกผิดวิธี คุณก็อาจทำให้คนคนหนึ่งต้องกลายเป็นคนพิการเคลื่อนไหวไม่ได้ไปตลอดชีวิต หรือในบางรายก็ซ้ำร้ายกว่านั้น ต้องเสียชีวิตจากการเคลื่อนย้ายที่ไม่ถูกต้อง” นพ.พีระพงษ์ กล่าว
Bangkok EMS หรือศูนย์เอราวัณ ได้จัดระบบการสื่อสารและประสานงานอย่างดี รวมทั้งจัดระบบควบคุมคุณภาพ กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติการรถกู้ชีพออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับแอดวานซ์ สำหรับผู้ป่วยภาวะวิกฤต และระดับเบสิกสำหรับผู้ป่วยหรือประสบเหตุทั่วไป มาตรฐานชุดปฏิบัติการเน้นที่ประสิทธิภาพและความพร้อม ทั้งคนทั้งรถและอุปกรณ์คุณภาพเต็มร้อย โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยปฏิบัติการทุกคนต้องผ่านการอบรมที่เรียกว่า EMT-B 110 ชั่วโมง และยิ่งเป็นหน่วยปฏิบัติการระดับแอดวานซ์ ต้องมีพยาบาลประจำรถอีก 1 คนด้วย
ช่วงแรกอาจขลุกขลักบ้าง แต่ปัญหาสำคัญคือประชาชนยังไม่รู้ ส่วนใหญ่ยังคุ้นกับการเรียกหน่วยบริการกู้ชีพเดิมที่เคยเรียกใช้ และบางกรณีเจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้ผ่านการอบรม 110 ชั่วโมง ซึ่งถูกห้ามไม่ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วย ทำได้เพียงประเมินสถานการณ์เบื้องต้น แต่เพราะประชาชนในพื้นที่คาดหวังให้ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือเร็วๆ ก็กดดันเจ้าหน้าที่ให้ยกผู้ป่วยขึ้นรถ (กระบะ) ซึ่งโดยลักษณะของรถทำให้ช่วยเหลือผู้ป่วยไม่ได้เต็มที่ หากในระหว่างทางผู้ป่วยต้องได้รับการปั๊มหัวใจ
ด้วยเหตุนี้ กทม. จึงต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง โดยสิ่งที่สามารถให้คำรับรองกับประชาชนได้ อันดับแรก คือมาตรฐานการแพทย์ที่จะช่วยให้ผู้ประสบเหตุปลอดภัยอย่างแท้จริง อันดับ 2 คือระยะเวลาไปถึงที่เกิดเหตุที่รวดเร็ว และนับวันจะดีขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ ก็เริ่มมีประสบการณ์และมีความคล่องตัวเพิ่มขึ้นมาก
“บริการการแพทย์ฉุกเฉินของ กทม. มีทั้งคุณภาพและความรวดเร็วฉับไว” นพ.พีระพงษ์ กล่าว และว่า ศูนย์เอราวัณเปิดให้บริการทุกวัน วันละ 24 ชม. พ่อแม่พี่น้องเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือพบเห็นอุบัติภัยบนท้องถนน ครั้งต่อไปเรียกใช้บริการ 1646
ถ้าเป็นต่างจังหวัดก็ต้องโทร 1669 บริการฟรีครับ
ขอบคุณ คุณดิศพงษ์
เจ็บป่วยฉุเฉินโทรไปศูนย์เอราวัณ1646 (ตจว.1669)ช่วยคุณได้ บริการดีและฟรีจากผู้ใหญ่ใจดี
0 comments:
แสดงความคิดเห็น